12 มีนาคม 2555

การออกแบบโลโก้ ออกแบบให้แก่สาขาวิชาภาษาไทย


                ชื่อ น.ส. นลินทิพย์ จารุวัฒนประดิษฐ์  รหัสประจำตัว 5211306534 
หมู่เรียน ศศ.บ.521(4)/13B สาขาวิชา ออกแบบประยุกต์ศิลป์ ภาควิชา ศิลปกรรม คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


              ออกแบบตราสัญญาลักษณ์ให้กับสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม  ซึ่งหลักการในการออกแบบนั้นจะสัมภาษณ์กับประธานหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย ตลอดจนคณะอาจารย์ และนักศึกษา เพื่อรวบรวมข้อมูลในการออกแบบ
   
ข้อมูลเบื้องต้น
สาขาวิชาที่ต้องทำการออกแบบให้นั่นเป็นวิชาภาษาไทย ซึ่งก็ต้องเกี่ยวกับด้านหลักภาษา  แต่คงจะเป็นการเจาะลึกในระดับมหาวิทยาลัย  เพื่อเตรียมตัวจะไปทำงาน เป็นครู เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความถูกต้องของภาษาเป็นอย่างมาก และถึงโลกจะเป็นไปตามกระแสนิยมก็ใช้ภาษาไทยปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ก็ยังถูกต้องตามหลักภาษา มีความสามารถในการใช้ภาษาได้ลึกซึ้งมากกว่าบุคคลทั่วไป ทางด้าน การคิดเขียนตามหลักของภาษาที่ถูกต้อง

ข้อมูลสาขาวิชา
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารนั้นจะเรียกได้ว่าเหมือนวิชาภาษาไทยที่เรียนกันมาตั้งแต่สมัยประถม แต่ในระดับมหาวิทยาลัยนั้น จะเข้มค้นและเจาะลึกมากกว่า ทั้งเรื่องหลักภาษา ทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างสร้างสรรค์ และจะมีวรรณกรรม วรรณคดี ก็จะแบ่งไปตามยุกต์สมัย ในปัจจุบันจะเป็นวรรณกรรมเรื่องสั้น สารคดี ข่าว ฯ

สรุปเขียนวิชาวิเคราะห์
            การออกแบบโลโก้ให้กับสาขาวิชาภาษาไทย ในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม  จากที่ได้สัมภาษณ์ ประธานหลักสูตร คณะอาจารย์ ตลอดจนนักศึกษา
                โลโก้แบบเดิมนั้นมีมากตั้งแต่ก่อนก่อตั้ง ศศบ. และการออกแบบโลโก้ใหม่เพื่อเป็นไปตามยุคสมัยก็เป็นที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้งานทั้งสกีนเสื้อประจำสาขาวิชา ทำหนังสือรุ่น และอื่นๆตามที่อาจารย์และนักศึกษาเห็นแก่สมควร
                ในการออกแบบนั้นรูปแบบของสาขาที่จะนำมาออกแบบโลโก้นั้นเน้นเป็นนามธรรมซะส่วนใหญ่ เพราะเป็นการใช้ภาษา และสิ่งที่จะสื่อถึงความเป็นภาษาไทย ก็มีเป็นศิราจารึก ที่จะเด่นชัดที่สุด จึงนำมาใช้ และการจัดวางเป็นในรูปแบบทางเลขาคณิต
สรุปแบบจากปัญหา
1.               แบบยังไม่สื่อเท่าที่ควร
2.               ยังดูไม่ค่อยเข้าใจถึงวิชาภาษาไทย
3.               บทความที่ได้มายังดูเป็นรูปธรรมเกินไป
4.               มีการยึดรูปทรง แต่ต้องทันสมัย
5.               ความเห็นส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประธานหลักสูตร
กระบวนการออกแบบ
Design of concert
            ต้องการสื่อถึงภาษาไทย ซึ่งจะใช้คำว่า ”ไทย” สั้นๆอย่างเดียวไม่ได้เพราะมันต้องสื่อถึงภาษา การพูดคุณ การใช้ในชีวิตประจำวัน และสิ่งที่สื่อถึงความเป็นไทยก็ต้องกล่าวได้ถึงศิราจารึกที่มีมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นรากเง้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ 

Concept
                ยึดเค้าโครงรูปแบบศิราจารึกและให้มีตัวหนังสืออยู่ภายใน และที่เน้นเด่นก็จะเป็นไม้มาลัย เพราะอยู่ตรงกลางและเป็นสระที่ตัวสูง  ถ้าจับมาคลีคลายให้ดูตวัด พริ้มไหวก็น่าเพิ่มความน่าสนใจ ดูมีการเครื่องไหว และสีที่ใช้ จากรูปแบบเหลี่ยมๆดูมันคงของศิราจารึกก็คงจะให้เป็นเหลืองกับเทา  ที่สื่อถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
                การจัดวาง เน้นให้ตัวไม่มาลัยเด่นออกมา และตัวที่เด่นรองลงมาก็เป็นกรอบของศิราจารึก ซึ่งอยากจะรวมทั้งหมดให้อยู่ในรูปเดียวกันหมด ทั้งชื่อบอกสาขาวิชา และสัญญาลักษณ์ทั้งหมด
จะตวักปลายไม้มาลัยให้เป็นกรอบล้อมรอบตัวหนังสือทั้งหมด
 
Idea sketch



Design
ใช้กรอบรอบนอกเป็นรูปโครงของศิราจารึก และใส่ตัวหนังสือไทยเข้าไป สีที่ใช้ก็เป็นสีของมหาวิทยาลัย เพื่อสื่อถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม นั้นคือเหลือง-เทา  สีชมพูก็หมายถึงคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ใช้ตัวไม้มาลัยให้ขยายยาวขึ้นเพื่อให้รับกับโครงรอบนอก แสดง ตัวหนังสือที่ใช้นั้นก็จะเป็นตัวหนังสือที่มีหัวและเป็นตัวอักษรของมหาวิทยาลัย  แสดงถึงความเป็นวิชาการหลักการที่คงความอ่อนช้อย อีกทั้งยังมีแบบที่เป็นภาษาอังกฤษสามารถอย่างเป็นสากลได้โดยเป็นตัวย่อ ”TH” หมายถึงภาษาไทย 


 
การนำไปใช้


 
ภาคผนวก-แบบสัมภาษณ์

บทสัมภาษณ์ประธานหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย อาจารย์จาระไน สิทธิบูรณะ
ผู้สัมภาษณ์: สวัสดีคะอาจารย์ หนูมาจากสาขาวิชาศิลปกรรม อยากจะมาเก็บข้อมูลรายละเอียดของสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อนำไปออกแบบตราสัญญาลักษณ์
อาจารย์จาระไน: หนูคิดว่าภาษาไทยต้องเป็นยังไงบ้างละ ในความรู้สึกของหนู?
ผู้สัมภาษณ์: การพูดคุยกับใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง สามารถที่จะแต่งทำนองเสนาะ คือ หนูยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับสาขาวิชาภาษาไทยมากคะ อาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยได้ไหมคะ?
อาจารย์จาระไน: ภาษาไทยของครู คือสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง พูดจาใช้ภาษาที่ถูก การเขียนก็ต้องถูกตามหลักภาษา แสดงถึงความเป็นไทย วิชาการ การสื่อสารสู่สากล ว่านี้แหละคือภาษาไทย
ผู้สัมภาษณ์: แล้วอาจารย์อยากให้แสดงออกถึงความทันสมัย เรียบง่ายหรืออะไรเป็นพิเศษไหมคะ?
อาจารย์จาระไน: เรื่องนี้ภาษาไทยที่ครูสอนจะไม่ใช่ต้องนั่งพับเพียบเรียบร้อยอะไรขนาดนั้น ภาษไทยของครูต้องทันสมัย แต่ก็ต้องใช้ภาษาถูกต้องด้วย สามารถที่จะพูดกล่าวเปิดงานได้ อ่านทำนองเสนาะในวันเทศกาล แต่งกลอนประกวดอย่างในวันพ่อ อะไรแบบนี้
ผู้สัมภาษณ์: แล้วเรื่องสีละคะ? ต้องการเป็นพิเศษรึป่าว?
อาจารย์จาระไน: ก็ต้องสีชมพูแหละ เพราะเป็นสีประจำคณะมนุษยศาสตร์ แต่ครูต้องขอคิดดูอีกทีก่อน เพราะเหมือนเด็กๆจะไม่ชอบสีชมพูกันนะ
ผู้สัมภาษณ์: สาขาวิชาภาษาไทยของอาจารย์คือ ต้องการอะไรที่สามารถใช้ได้ในทุกวัน ไม่ตกยุกต์สมัย แต่ก็ใช้ภาษาที่ถูกต้อง มีความสามารถ ที่เหนือกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่แค่อ่านออกเขียนได้ แต่ต้องรู้ลึกถึงขั้นแต่งคำประพันธ์ได้ แล้วสามารถที่จะใช้ใยช่วงเวลาเป็นทางกาลได้ อย่างเช่นกล่าวเปิดงาน
อาจารย์จาระไน: ใช่แล้วละ เดี๋ยวครูต้องไปสอนต่อแล้วละ ยังไงก็ลองร่างแบบมาให้ครูดูก่อนนะ
ผู้สัมภาษณ์: ขอบคุณอาจารย์มากคะ แล้วก็ขอโทษที่รบกาลเวลา มีอะไรสงสัยจะมาสอบถามใหม่นะคะ


บทสัมภาษณ์อาจารย์ท่านอื่นๆ ในสาขาวิชาภาษาไทย และนักศึกษาเอกวิชาภาษาไทย
อาจารย์ ศิริพร เศรษฐพฤทธิ์
                อาจารย์ไม่ค่อยเข้าใจทางด้านศิลปะซะเท่าไหร่ ทำมาอย่างที่เสร็จให้อาจารย์เลือกดูจะดีกว่า และเรื่องการตัดสินใจจะอยู่ที่ประธานหลักสูตรซะมากกว่า ภาษาไทยพื้นฐานจะเป็นในเชิงวรรณคดี วรรณกรรมซะมากกว่า เกี่ยวกับการใช้ภาษา วัฒนธรรมของภาษา ฟังพูดอ่านเขียน
อาจารย์ ณัฐนันท์ คำภา
                มีความเห็นเดียวกับอาจารย์ ศิริพร เพราะอาจารย์ต้องมาสอนต่อ
ผู้ช่วยสตราจารย์ คะนึงนิจ ศีลรักษ์
                แบบที่ให้มาดูไปนั้นเสียงตอบรับยังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะยังสื่อถึงความเป็นภาษวิชาภาษาไทยไม่ตรงซะเท่าไหร่ จากโลโกแบบเก่าก่อนที่ตะจัดตั้งเป็น ศศบ. ก็ยึดรูปแบบของศิราจารึก ซึ่งดูแล้วเข้าใจถึงภาษาไทย แต่อย่างไปยึดติดกับแบบเดิมๆ น่าจะออกแบบให้เข้ากับยุคสมัย ก็ต้องมองที่ว่าเป็นไทยที่ตามกระแส ทันบ้านเมือง
                วัฒนธรรมอย่างของดนตรีก็มีเป็นเครื่องดนตรี นาฏศิลป์ก็เป็นการฟ้อนรำ ฉะนั้นภาษาไทยก็ต้องเป็นตัวหนังสือเป็นอักขระจะดีกว่า และถ้ามีดอกไม้คงจะไม่เข้า เรื่องสีก็เป็นไปตามคณะเพราะทางเอกภาษาไทยยังไม่มีสีเฉพาะ แต่เรื่องนั้นก็ต้องถามประธานหลักสูตรก่อน
                โลโก้ของวิชาภาษาไทยก็จะใช้ในการสกีนเสื้อ ทำหนังสือรุ่นและก็แล้วแต่นักศึกษาว่าจะเอาไปทำอะไร
อาจารย์ วาสนา ดอนจันทร์ทอง
                นึกถึงสมัยประถม ก็ตามนั้นเลย วิชาภาษาไทยก็จะเป็นแบบที่เคยเรียนๆกันมา แต่มันจะเจาะลึกกว่า เน้นลงไปทางด้านหลักภาษาทั้งหลาย การฟัง การพูด การอ่าน การเขียนอย่างสร้างสรรค์ และจะมีวรรณกรรม วรรณคดี วรรณคดีก็จะแบ่งไปตามยุคสมัย ในปัจจุบันที่นิยมก็จะเป็นวรรณกรรมเรื่องสั้น สารคดี ข่าว เป็นต้อน ซึ่งก็จะเป็นำไปตามกระแสนิยมของโลกอีกเช่นกัน
                นักศึกษาที่จบไปมักจะเป้ฯครูแต่การจะเป็นครูต้องเรียนครูต่ออีก 2 ปี และก็จะมีไปทำงานกับสำนักพิมพ์ นักข่าว แต่โดยส่วนมากจะเป้นครูกัน
นักศึกษาวิชาภาษาไทยปี 2 ที่ได้สัมภาษณ์
                ภาษาไทยพื้นฐาน เป็นสิ่งที่ไทยๆ คำไทย ประวัติศาสตร์ หลักภาษาต่างๆ เขียนเรื่องสร้างสรรค์ วรรณกรรม วรรณคดี แต่ถ้าเป็นไทยธุรกิจก็จะเป็นเรื่องการตลาด บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ นักข่าว ภาพยนตร์ หนัง ผู้กำกับ สารคดี โฆษณา และก็ตามที่เกี่ยวกับธรุกิจ